วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บันทึกอนุการครั้งที่ 12
วันพฤหัสบดี ที่  25 ตุลาคม 2561
เวลาเรียน 08:30 - 11:30 น.
เวลาเข้าเรียน 08:30 น. เวลาเข้าสอน 11:30 น.
เวลาเลิกเรียน 11:30 น.
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

หลังจากมีการสอบอาทิตย์ที่แล้ว อาทิตย์นี้อาจารย์ก็บอกคะแนนเลย คิดว่าตอนสอบตื่นเต้นแล้ว
ตอนบอกคะแนนตื่นเต้นกว่า กลัวจะได้คะแนนน้อย กลัวจะอายเพื่อน กลัวเพื่อนผ่านหมดแล้ว
ตัวเองตกอยู่คนเดียว แต่พออาจารย์บอกคะแนนก็โอเครขึ้น หนูสอบผ่าน ถึงคะแนนที่ผ่านจะได้น้อยแต่
ก็ดีกว่าไม่ผ่าน พอบอกคะแนนเสร็จอาจารย์ก็สอนต่อเลย วันนี้เรียนเรื่อง นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย

           การสอนแบบ story line
           “การสอนวิธีสตอรี่ไลน์ (Storyline)”
           เริ่มต้นที่ประเทศสก๊อตแลนด์ เมื่อปี ค.ศ.1960  โดยศาสตราจารย์สตีฟ เบล (Steve Bell) อาจารย์แซลลี่ ฮัคเนส (Sallie Harkness) เฟรดเรนเดล  (Fred Rendell) และคณาจารย์จากวิทยาลัยครูจอร์แดนฮิล (Jordanhill College of Education) ที่ได้ร่วมกันสร้างและพัฒนาวิธีการสอนสตอรี่ไลน์ขึ้น Storyline มาจากคำว่า Story และ Line ซึ่งหมายถึง เส้นทางของเรื่องหรือแนวคิดของเรื่อง เป็นการดำเนินเรื่องที่เรียงต่อเป็นลำดับ จุดเส้นเชือก
       สตอรี่ไลน์ เป็นวิธีการสอนที่ถือว่าครูและนักเรียนเป็นหุ้นส่วนในการคิดและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยยึดถือหลักความต้องการและความสนใจของนักเรียน สตอรี่ไลน์ เป็นวิธีการสอนที่ให้นักเรียนได้พัฒนาองค์ประกอบของตนเองที่สำคัญคือ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skills) และความรู้สึก (feeling) จากการเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกปฏิบัติ (practice)  จากการสะท้อนข้อมูล (reflection) และเรียนรู้จากทฤษฎี (theory) ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายมีการเริ่มเรื่อง การดำเนินเรื่องและมีตอนจบ โดยมีคำถามหลัก (key questions) เป็นตัวเชื่อมการดำเนินเรื่องตามเส้นทางการเดินเรื่องให้นักเรียนได้ค้นหาและสร้างสรรค์คำตอบด้วยการปฏิบัติกิจกรรมที่ครูจัดเตรียมไว้และในทุกขั้นตอนของสตอรี่ไลน์เน้นการใช้คำถามเป็นสำคัญ
          การสอนแบบ High Scope
            การจัดประสบการณ์แบบไฮสโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของพิอาเจท์ ว่าด้วยพัฒนาการทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนสร้างสรรค์การเรียนรู้ เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตนเอง การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น
  1. เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากการมีส่วนร่วมกระทำกับบุคคล วัสดุอุปกรณ์เหตุการณ์และความคิด เนื่องจากเป็นกระบวนการจูงใจจากภายใน
  2. ในขณะที่เด็กกำลังลำดับความคิดความสามารถในแต่ละขั้นขณะปฏิบัติ ผู้ใหญ่จะเป็นผู้มีส่วนช่วยสนับสนุนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
  3. การสนับสนุนของผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ การยอมรับจากการเลือก การคิดและการกระทำของเด็กเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเด็ก สร้างให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง มีความรู้สึกรับผิดชอบและรู้จักควบคุมตนเอง

  4. การสังเกตความสนใจและความตั้งใจของเด็กอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นขั้นตอน ที่สำคัญสำหรับการเข้าใจระดับพัฒนาการของเด็ก การวางแผนและดำเนินปฏิสัมพันธ์กับเด็กได้อย่างเหมาะสม
รูปแบบการสอนแบบเรกจิโอ เอมีเลีย
•แนวคิดพื้นฐาน
           การเรียนการสอนแบบเรกจิโอ เอมีเลีย มีแนวคิดพื้นฐาน คือ การเข้าใจว่าเด็กมีความสามารถในการรับรู้ มีความพร้อมและมีศักยภาพแห่งตน ครูจึงต้องจัดการเรียนการสอนให้โรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญ
           โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีครูเป็นสื่อการสอนนำพาให้เด็กสามารถสร้างการเรียนรู้ด้วยการกระทำ การแสดงออก การจัดสิ่งแวดล้อม และการกระตุ้นเร้าที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยการค้นพบด้วยตนเอง
           นวัตกรรมการสอนแบบมอนเตสเชอรี่
       การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน

แล้วท้ายคาบอาจารย์ก็สั่งงานกลุ่ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดท้ายบท บทที่1  1. จงอธิบายถึงความหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัยตามความเข้าใจของนักศึกษา    =  การจัดการศึกษาสำหรับเด็...