วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561


บันทึกอนุการครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดี ที่ 6 กันยายน 2561
เวลาเรียน 08:30 - 11:30 น.
เวลาเข้าเรียน 08:30 น. เวลาเข้าสอน 11:30 น.
เวลาเลิกเรียน 11:30 น.
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

จากอาทิตย์ที่แล้วจับฉลาก "หาประวัติครูอนุบาลมานำเสนอ"
หนูจับได้ Friedrich Wilhelm Froebel เฟรดริค วิลเฮม เฟรอเบล บิดาแห่งการอนุบาล



เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้          เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้องดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ     “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดท้ายบท บทที่1  1. จงอธิบายถึงความหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัยตามความเข้าใจของนักศึกษา    =  การจัดการศึกษาสำหรับเด็...